Article-th

2024: Integrating mindfulness in media literacy: A culture-responsive training programme for older Thai adults

Media literacy is a much-needed competency in the digitalised world, but it is still an unknown knowledge base for older Thai adults. This design-based research set out as an initiative to promote media literacy through an age friendly and culture-responsive training programme. The design process involved focus groups with key stakeholders and older adult ‘learners’ […]

2024: Integrating mindfulness in media literacy: A culture-responsive training programme for older Thai adults Read More »

2566: การสร้างหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุไทยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม

นันทิยา ดวงภุมเมศ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ ธีรพงษ์ บุญรักษา วราภรณ์ สืบวงษ์สุวรรณ์ การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารที่คลาดเคลื่อนและผิดพลาดในสื่อต่าง ๆ และผลกระทบเชิงลบจากการบริโภคสื่อที่มีต่อสุขภาวะของผู้สูงอายุ ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทย และเป็นหลักสูตรที่สามารถสอนโดยผู้สูงอายุด้วยกันเอง เพื่อให้มีการนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายในทุกพื้นที่ของประเทศไทยบทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งแบ่งออกเป็นสามขั้นตอนได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเด็นเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้ 2) การมีส่วนร่วมในการปรับเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) การมีส่วนร่วมในปฏิบัติการการใช้หลักสูตร ซึ่งทำให้ได้ชุดความรู้จากประสบการณ์ของ “คนใน” ที่นำมาบูรณาการกับแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อและแนวคิดการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ในการออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุไทย ภายใต้ฐานคิด “รู้ทันตนเอง รู้ทันสื่อ” พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด “การมีส่วนร่วม”(Participatory practice) ของผู้สูงอายุ ได้แก่ การสร้างบรรยากาศที่มีความปลอดภัยทางวัฒนธรรม (Culturally safe atmosphere) การแสดงจุดยืนถึงสถานะที่เท่าเทียมกัน (Equal positioning) ของนักวิจัยและผู้สูงอายุ และความพร้อมของนักวิจัยที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับโครงสร้างของชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ นันทิยา ดวงภุมเมศ, ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์สิรินทร, พิบูลภานุวัธน์, ธีรพงษ์ บุญรักษา และวราภรณ์ สืบวงษ์สุวรรณ์. (2566).

2566: การสร้างหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุไทยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม Read More »

2023: When fake news comes with translation: A study of perception toward coronavirus-related news translation into Thai

Narongdej Phanthaphoommee Theeraphong Boonrugsa Singhanat Nomnian This paper aims to investigate how coronavirus-related fake news as a result of translation is perceived in the Thai context. Using the framework of truth criteria to guide the online questionnaire and focus group, the researchers gathered the different perspectives of three age groups: Group 1 aged 19–38, Group

2023: When fake news comes with translation: A study of perception toward coronavirus-related news translation into Thai Read More »

2023: Incomplete translation as a conduit for fake news: A case of coronavirus-related news

While scholars from various fields have pioneered studies of fake news and its consequences, there is currently a scarcity of literature on fake news and translation. The present paper aims to investigate the phenomenon of fake news as a product of translation in the Thai context. Using a discourse analysis approach to translation studies to

2023: Incomplete translation as a conduit for fake news: A case of coronavirus-related news Read More »

2564: มารยาทการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนไทย

คุณากร คงจันทร์ นันทิยา ดวงภุมเมศ สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะ ด้านการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนไทยกำลังดำเนินไปตามวิถีเทคโนโลยีพลิกผัน อิสรภาพในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างไร้ขอบเขตทำให้เกิดการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาพฤติกรรมและมารยาทการสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ของคนไทยว่า  มีลักษณะอย่างไร  มารยาทการสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์สอดคล้องหรือแตกต่างกับในชีวิตจริงอย่างไร  และควรมีแนวทางใดในการประยุกต์มารยาทในชีวิตจริงเพื่อใช้ในสังคมออนไลน์การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ใช้เฟซบุ๊ก และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 40 คน และวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการของการศึกษาปรากฏการณ์วิทยาในแนวอรรถปริวัตร (Hermeneutic Phenomenology) ผลการวิจัยพบว่า 1) คนไทยมีพฤติกรรมการสื่อสาร 2 แนวทาง คือ ด้านการงาน และ ด้านอารมณ์-สังคม 2) มารยาทการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่พบนั้น ไม่นิ่งตายตัว แต่มีความเชื่อมโยงกับมิติทางวัฒนธรรมของ Geert Hofstede 3) มารยาทการสื่อสารในชีวิตจริงจะสอดคล้องกับในสื่อสังคมออนไลน์ก็ต่อเมื่อมีการเปิดเผยตัวตนในสื่อสังคมออนไลน์  และ 4)  กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่า  การปลูกฝังมารยาทการสื่อสารในชีวิตจริงจะทำให้สื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีมารยาท คุณากร คงจันทร์,

2564: มารยาทการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนไทย Read More »

2563: สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ

สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ นันทิยา ดวงภุมเมศ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศแก่ผู้สูงอายุ 2) เสริมพลังให้ผู้สูงอายุตระหนักในคุณค่าของตนผ่านการเป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่สามารถสร้างสรรค์สื่อได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของชุมชนและสถานการณ์ของสังคม และร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนหรือสังคม 3) ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างพลเมืองสูงวัยเป็นนักสื่อสารสุขภาวะในสังคมไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มนักเรียนสูงอายุใน 5 พื้นที่ทั่วประเทศ คือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 268 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เท่าทันสื่อเพิ่มขึ้น การใช้คาถารู้ทันสื่อ “หยุด-คิด-ถาม-ทำ” ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดจากการเสพสื่ออย่างไม่รู้เท่าทันในกลุ่มผู้สูงอายุ การรับบทบาทนักสื่อสารสุขภาวะทำให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่า และศักยภาพของตนเองในการสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะของตนเองและชุมชน องค์ความรู้ที่ได้คือแนวทางการสร้างผู้สูงอายุให้เป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่รู้เท่าทันสื่อ เริ่มจากการทำความเข้าใจความสามารถและข้อจำกัดในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ออกแบบเนื้อหาและวิธีการให้สอดคล้อง และจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม สิรินทร พิบูลภานุวัธน์, นันทิยา ดวงภุมเมศ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2563). สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 15(3), 174-191. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/243561

2563: สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ Read More »

2563: การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: “หลักการ” และ “เครื่องมือ” เพื่อเสริมสร้างเด็กและเยาวชนพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ

นันทิยา ดวงภุมเมศ นิธิดา แสงสิงแก้ว บทความนี้มุ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการใช้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) ในการเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนไทยเป็นพลเมืองรู้เท่าทันสื่อที่มีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วม และมุ่งเน้น ความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจากการดำเนินงานและผลกระทบที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของ เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ ดิจิทัล ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ตั้งแต่พ.ศ. 2557-2561 โดยบทความนำเสนอการใช้ MIDL ใน เชิง“หลักการ” ที่มีเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของกระบวนการ คือ เด็กและเยาวชนสามารถบริโภคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน การใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น เพื่อผลักดัน สังคมไปสู่การเป็น “เมืองทั่วถึง” (inclusive city) และการใช้ทั้ง “หลักการและเครื่องมือ” ในการพัฒนาทักษะ MIDL ที่ผนวกรวมกับมิติด้านความเป็ นพลเมืองตื่นรู้โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิ ดขึ้นกับเด็กและเยาวชนตอกย้ำถึงคุณค่าของ MIDL ในการสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ใช้สื่ออย่างมีสำนึกและสติ (conscious awareness) อัน นำไปสู่การเกิดสำนึกรับผิดชอบ พลังในการสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตยที่ให้ ความสำคัญกับการรับฟัง “เสียง”

2563: การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: “หลักการ” และ “เครื่องมือ” เพื่อเสริมสร้างเด็กและเยาวชนพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ Read More »

2563: แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

นิธิดา แสงสิงแก้ว นันทิยา ดวงภุมเมศ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลโครงการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ ดิจิทัล (MIDL)3 ซึ่งได้ติดตามผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2561 ด้วยการใช้ ข้อมูลปฐมภูมิ ผ่านการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกของคณะประเมิน ผล และข้อมูลทุติยภูมิ ด้วยการศึกษารายงานผลจากโครงการย่อยและรายงาน ผลการประเมินการดำเนินงานของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนในภาพรวม เฉพาะ ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับ MIDL โดยบทความให้ความสำคัญกับมิติ “พื้นที่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความเรื่อง “เมือง” ผ่านการสื่อสารภายใต้แนวคิดเมือง ทั่วถึง หรือเมืองที่ไม่ทอดทิ้งกัน (inclusive city) ในฐานะที่เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกหนึ่งในการมอง “เมือง” ให้เป็นโอกาสในการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ กลุ่มสังคมย่อยมีโอกาสเข้าถึง ออกแบบ มีส่วนร่วม และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ความเป็นเมืองนั้น นิธิดา แสงสิงแก้ว, และนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2563). แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล : เมื่อ

2563: แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง Read More »

2561: การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง

ยงยุทธ บุราสิทธิ์ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.สำรวจคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุในสังคมเมืองที่มีพลวัตสูง 2.สำรวจสถานการณ์ของครอบครัวในสังคมเมืองที่มีผลกระทบต่อค่านิยมด้านคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ และ 3.เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีให้แก่ผู้สูงอายุในสังคมเมือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัว โดยศึกษาผู้สูงอายุจำนวน 336 คนและลูก/หลานจำนวน 335 คนในเขตเทศบาลนครนครปฐมใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและสัดส่วนและการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประเมินว่าตนเองมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในระดับสูง รู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจได้รับการเคารพยกย่องจากลูกหลานและการเป็นที่พึ่งทางใจของครอบครัว  ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีทัศนคติต่อค่านิยมในเชิงบวกด้านการเคารพผู้สูงอายุสูงกว่าเพศชายแนวทางในการส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีให้แก่ผู้สูงอายุคือการสร้างฐานสุขภาพที่แข็งแรงให้กับผู้สูงอายุ การควบคุมโรคเรื้อรัง การสร้างสุขภาพจิตที่ดี การปลูกฝังความรัก ความผูกพัน และการตอบแทนบุญคุณ ยงยุทธ บุราสิทธิ์ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2561). การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 37(2), 129-150. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/209525/145097

2561: การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง Read More »

2015: Buddhist social networks and health in old age: A study in central Thailand

Kwanchit Sasiwongsaroj Taizo Wada Kiyohito Okumiya Hissei Imai Yasuko Ishimoto Ryota Sakamoto Michiko Fujisawa Yumi Kimura Wen-ling Chen Eriko Fukutomi Kozo Matsubayashi Abstract Aim Religious social networks are well known for their capacity to improve individual health, yet the effects of friendship networks within the Buddhist context remain largely unknown. The present study aimed to

2015: Buddhist social networks and health in old age: A study in central Thailand Read More »

Scroll to Top