2563: แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

นิธิดา แสงสิงแก้ว
นันทิยา ดวงภุมเมศ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลโครงการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ ดิจิทัล (MIDL)3 ซึ่งได้ติดตามผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2561 ด้วยการใช้ ข้อมูลปฐมภูมิ ผ่านการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกของคณะประเมิน ผล และข้อมูลทุติยภูมิ ด้วยการศึกษารายงานผลจากโครงการย่อยและรายงาน ผลการประเมินการดำเนินงานของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนในภาพรวม เฉพาะ ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับ MIDL โดยบทความให้ความสำคัญกับมิติ “พื้นที่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความเรื่อง “เมือง” ผ่านการสื่อสารภายใต้แนวคิดเมือง ทั่วถึง หรือเมืองที่ไม่ทอดทิ้งกัน (inclusive city) ในฐานะที่เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกหนึ่งในการมอง “เมือง” ให้เป็นโอกาสในการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ กลุ่มสังคมย่อยมีโอกาสเข้าถึง ออกแบบ มีส่วนร่วม และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ความเป็นเมืองนั้น


นิธิดา แสงสิงแก้ว, และนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2563). แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล : เมื่อ “เมืองทั่วถึง” (Inclusive City) เป็นได้ทั้ง “สื่อ”และ “สาร”เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง. วารสารศาสตร์, 13(1), 135-159. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/236717/162478

Scroll to Top