Author name: admin

สวัสดีวันจันทร์แบบใหม่ ส่งความคิดถึงและส่งต่อความปลอดภัยในการใช้สื่อ

“สวัสดีวันจันทร์” คืออะไร…. การส่งรูปดอกไม้ วิวธรรมชาติ สถานที่สวย ๆ พร้อมข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” ในตอนเช้า ๆ ของผู้สูงอายุถือเป็นสิ่งที่เราทุกคนคุ้นชิน และวัฒนธรรมที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้สื่อ โดยทุก ๆ เช้า เมื่อผู้สูงอายุตื่นมา สิ่งแรก ๆ ที่จะทำ คือ การนั่งไล่อ่านข้อความในไลน์จากลูกหลาน คนในครอบครัว และเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกันเอง เพื่อให้ทราบว่าแต่ละวันมีใครส่งข้อความ คำคม ข่าวสารอะไรให้บ้าง ก่อนที่จะกดเลือกรูปดอกไม้ หรือวิวธรรมชาติสวย ๆ พร้อมด้วยข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” แล้วส่งไปหาคนที่ห่วงใย  “สวัสดีวันจันทร์” หมายความว่าอะไร จากผลการวิเคราะห์เนื้อหาข้อความและความต้องการข่าวสารผ่านไลน์ของผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย1 พบว่า พฤติกรรมการส่งรูปภาพ “สวัสดีวันจันทร์” ของผู้สูงอายุ ล้วนแฝงด้วยความหมายหรือคุณค่าที่ลึกซึ้งของผู้สูงอายุที่มีต่อผู้ที่ส่งข้อความให้ เช่น ความรู้สึกคิดถึง การระลึกถึงกัน ที่มาจากการอยู่ห่างไกลกัน ความปรารถนาดีและความหวังดีที่ผู้สูงอายุมีต่อผู้ที่ส่งข้อความให้ ความต้องการที่ทันยุคสมัยและไม่ตกกระแสสังคม การทำบุญในรูปแบบการส่งต่อหลักคำสอนหรือหลักธรรม เพื่อหวังที่จะให้ผู้รับข้อความได้นำหลักคำสอนทางศาสนาไปปฏิบัติใช้การดำเนินชีวิต การเรียน การทำงาน นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่าการที่ผู้สูงอายุส่งข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” ในทุก ๆ […]

สวัสดีวันจันทร์แบบใหม่ ส่งความคิดถึงและส่งต่อความปลอดภัยในการใช้สื่อ Read More »

โต๊ะมหัศจรรย์ (Tovertafel) เกมสื่อปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบ (Interactive game)

จากเนเธอร์แลนด์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในปัจจุบันหลายประเทศบนโลกเป็นสังคมผู้สูงอายุ รวมไปถึงทวีปยุโรปที่เป็นกลุ่มต้น ๆ ในบรรดาประเทศ G20 ที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด เมื่อต้นปี ค.ศ.2023 มีผลสำรวจจากองค์กร Eurostatพบว่าประชากรผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) มีจำนวนมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรยุโรปทั้งหมด คิดเป็น 21.3% ของประชากร 448,800,000 คน  และภายใน ค.ศ.2050 ในยุโรปจะมีผู้สูงอายุที่อายุ 100 ปีขึ้นไปราว500,000 คน และกลุ่มประชากรอายุ 65-74 ปี มีแนวโน้มจำนวนสูงขึ้น 16.6% ในขณะที่กลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 55 ปี จะมีจำนวนเพียง 13.5% โดยประมาณ1  หนึ่งในภาวะที่พบมากที่สุดในผู้สูงอายุคือ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นภาวะที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เพราะสมองทำงานได้แย่ลง เช่น อาการหลงลืมง่าย หลงทางในที่คุ้นเคย ทำอะไรซ้ำไปมา บุคลิกเปลี่ยน เริ่มเสียทักษะที่เคยทำได้ ภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุทั้งจากโรคที่รักษาหายขาด เช่น โรคต่อมไทรอยด์

โต๊ะมหัศจรรย์ (Tovertafel) เกมสื่อปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบ (Interactive game) Read More »

Adopta un abuelo: สตาร์ตอัปจากสเปนที่ช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างวัยผ่านแอปพลิเคชัน

ปัจจุบัน หลายประเทศได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และต้องเผชิญกับความท้าทายหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับปัญหาสุขภาพ ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ไปจนถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจ และโครงสร้างประชากร1 หนึ่งในปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม คือปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ตามลำพัง หรือในสถานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอาจรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว น้อยใจ ซึมเศร้า หรือถูกทอดทิ้ง ในประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ร้อยละ 12 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ในปี พ.ศ. 25642 ส่วนในประเทศสเปน ความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ในปี 2556 อัลเบร์โต กาบาเนส (Alberto Cabanes) ชายหนุ่มชาวสเปนวัย 24 ปี ไปเยี่ยมปู่ของเขาที่สถานดูแลผู้สูงอายุเป็นประจำ เขาสังเกตว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ที่นั่นมักอยากเข้ามาทักทาย อยากพูดคุยด้วย โดยเฉพาะเบร์นาร์โด (Bernardo) พ่อหม้ายสูงวัยคนหนึ่งที่ไม่มีลูกหลาน ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของปีนั้น ชายหนุ่มได้ยินเบร์นาร์โดกล่าวว่า เขาอยากจะมีหลานปู่หลานตาสักคน อัลเบร์โตจึงตอบกลับไปว่า เขาจะเป็นหลานให้เบร์นาร์โดเอง3 นั่นคือจุดเริ่มต้นของโครงการ Adopta un abuelo ชื่อโครงการในภาษาสเปนเล่นกับคำกริยา “Adoptar”

Adopta un abuelo: สตาร์ตอัปจากสเปนที่ช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างวัยผ่านแอปพลิเคชัน Read More »

ความท้าทายของ Gen X กับการเป็น “แซนวิชเจเนอเรชั่น”

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายและพยายามหาแนวทางในการรับมือกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีลักษณะเป็นแบบพีระมิดแบบหดตัว (constrictive pyramid/ declining pyramid) ซึ่งเกิดจากจำนวนประชากรที่ลดลงจากอัตราการเกิดและอัตราการตายที่ต่ำ ทำให้จำนวนเด็กที่เกิดใหม่ไม่ได้สัดส่วนที่จะทดแทนคนรุ่นพ่อและแม่ได้1 ส่งผลต่อเนื่องให้ประเทศไทยเป็น “สังคมสูงอายุสมบูรณ์” (complete-aged society) เนื่องจากมีจำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากถึง 20.08% หรือ 13,064,929 คน จากจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎรทั้งหมด 66,052,615 ล้านคน2 ที่สำคัญ หากมองประชากรที่อยู่ในกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (pre-aging) นั่นคือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี จำนวน 10,005,690 คนในปัจจุบัน ที่ก็จะกลายเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีในอีก 10 ปีข้างหน้า ทำให้มองเห็นภาพของสังคมสูงอายุไทยที่จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประมาณ 23 ล้านคน หรือ 34% ของประชากรทั้งหมด1  ถ้าจะทำให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้นก็คือ ในทศวรรษหน้า ประชากรไทย 1 ใน 3 จะเป็นผู้สูงอายุ เมื่อแนวโน้มโครงสร้างทางประชากรของไทยเป็นเช่นนี้ การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับจำนวนประชากรสูงอายุไทยที่จะเพิ่มขึ้นในอีกทศวรรษ จะต้องเริ่มจากการให้ความสนใจไปที่กลุ่มวัยก่อนสูงอายุ เพื่อเตรียมคนเหล่านี้ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาระการดูแลจากภาครัฐ

ความท้าทายของ Gen X กับการเป็น “แซนวิชเจเนอเรชั่น” Read More »

รายงานผลสำรวจสถานการณ์การใช้สื่อ ผลกระทบจากการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2566

รายงานผลสำรวจสถานการณ์การใช้สื่อ ผลกระทบจากการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2566 Read More »

การสำรวจสถานการณ์การใช้สื่อและผลกระทบจากการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2565

ReprotResearch-2022-Situation-Impact.pdf … 27.4 MB (Note: รอใส่ไฟล์ไว้ในโฟลเดอร์นอก WP เพื่อให้ไฟล์ Backup ไม่กินพื้นที่เกินไป)

การสำรวจสถานการณ์การใช้สื่อและผลกระทบจากการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2565 Read More »

ผลการสำรวจผลกระทบจากการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย ปี 2565

ReportResearch-2022-Impact.pdf … 15.8 MB (Note: รอใส่ไฟล์ไว้ในโฟลเดอร์นอก WP เพื่อให้ไฟล์ Backup ไม่กินพื้นที่เกินไป)

ผลการสำรวจผลกระทบจากการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย ปี 2565 Read More »

ประสบการณ์การถูกหลอกลวงผ่านสื่อของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2565

ReportResearch-2022-Experiences.pdf … 15.7 MB (Note: รอใส่ไฟล์ไว้ในโฟลเดอร์นอก WP เพื่อให้ไฟล์ Backup ไม่กินพื้นที่เกินไป)

ประสบการณ์การถูกหลอกลวงผ่านสื่อของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. 2565 Read More »

Scroll to Top