• ตุลาคม 15, 2022
  • ch.salin
  • 0

Digital literacy กับสังคมผู้สูงอายุ

บทความสั้นจากเว็บไซต์ https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-literacy  ที่เขียนโดยจิรเมธ ประเสริฐสุข นำเสนอภาพการเป็นสังคมผู้สูงอายุไทยที่คาดการณ์ว่าจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี พ.ศ. 2566 นั่นหมายถึง สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีมากกว่า 20% ของประชากรไทยทั้งหมด ในขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลก็จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในชีวิตของผู้สูงอายุ เพราะว่าผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการวางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณไว้ล่วงหน้า ทำให้ไม่ได้มีกิจกรรมที่จะทำโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้ทักษะทางด้านดิจิทัล (Digital Skill) จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน รอบคอบ ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในพื้นที่สาธารณะ รู้จักรักษาความปลอดภัยตนเองเมื่อใช้งานสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทักษะเหล่านี้ถือเป็นความรอบรู้ทางดิจิทัล (Digital Literacy) ซึ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์  ไม่ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเท็จ ข่าวลวง และมิจฉาชีพที่มักอาศัยช่องว่างทางความรู้เรื่องดิจิทัลในการล่อลวงผู้สูงอายุ

อ่านรายละเอียดได้จาก Digital literacy กับสังคมผู้สูงอายุ